วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย


สรุป วิจัย
เรื่องการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

ของ

เสกสรร มาตวังแสง

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
ตุลาคม 2552

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในภาพรวม และจำแนกรายด้าน คือ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล
การสังเคราะห์ การประเมินค่า และเพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและ
หลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
          ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้าประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ เด็กปฐมวัย ชาย –
หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
ของโรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี สังกัดสำนัก
การศึกษาเทศบาลเมืองชลบุรี จำนวน 50 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มด้วยการจับสลาก
1 ห้องเรียนจาก 2 ห้องเรียน และสุ่มโดยการจับสลากนักเรียนจำนวน 15 คน เพื่อใช้เป็น
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรจัดกระทำ ได้แก่
การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ และตัวแปรตาม ได้แก่ การคิดวิจารณญาณ
การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ และแบบทดสอบ
การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ซึ่ง
ทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กปฐมวัย โดยผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่าง
1 สัปดาห์ก่อนการทดลอง จากนั้นทำการทดสอบเพื่อวัดการคิดวิจารณญาณก่อนการทดลอง
(Pre-test) โดยใช้แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กับกลุ่มตัวอย่าง
และดำเนินการทดลองด้วยตนเอง จำนวน 8 สัปดาห์ เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์
นำแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้ง และนำข้อมูลที่ได้จาก
การทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ
          เด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มีการคิดวิจารณญาณ ดังนี้
    1. ระดับการคิดวิจารณญาณ ของเด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรม
วิทยาศาสตร์์ในภาพรวมมีการคิดวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 30.73
และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการใช้เหตุผลอยู่ในระดับมากที่สุดมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ
8.20 ส่วนด้านการวิเคราะห์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.20 การสังเคราะห์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ
8.00 และการประเมินค่ามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.33 ซึ่งอยู่ในระดับมาก
2. การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยในภาพรวม หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรม
วิทยาศาสตร์์ พบว่าเด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณสูงขึ้น มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.93
คะแนน สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อ
พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยมีการ
วิเคราะห์สูงขึ้น มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.20 การใช้เหตุผลสูงขึ้นมีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ย
เท่ากับ 1.93 การสังเคราะห์สูงขึ้นมีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.20 และการประเมินค่าสูงขึ้น
มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.60 ทุกด้านสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
 การคิดวิจารณญาณ และสอดคล้องกับจารุวรรณ คงทวี (2551: 57-58) ที่ศึกษาการคิดวิจารณญาณ
ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมละเลงสีด้วยนิ้วมือ ผลวิจัยพบว่า กิจกรรมที่สามารถ
พัฒนาการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยควรเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำโดย
ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า เป็นกิจกรรมที่ฝึกให้เด็กคิดค้นหรือหาวิธีการแปลกๆ ใหม่ๆ ที่ค้นพบขึ้น
ด้วยตนเองมาทดลองใช้ในกิจกรรม เป็นกิจกรรมที่เด็กได้มีโอกาสสังเกต สำ รวจ จำ แนก
เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ ของวัสดุอุปกรณ์ ค้นคว้าทดลองในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ดังนั้นการจัด
กิจกรรมวิทยาศาสตร์จึงเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
เพราะเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้สังเกตเปรียบเทียบความแตกต่างของวัสดุอุปกรณ์
เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติกิจกรรม และสรุปผลการทดลองได้ตามความเข้าใจของ
ตนเอง จึงส่งผลให้เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ มีการคิดวิจารณญาณในภาพรวม
และรายด้านสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
    2. ระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยแยกเป็นรายด้านพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้
รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองโดยมีระดับการคิด
วิจารณญาณสูงขึ้นทุกด้าน คือ
2.1 ด้านการวิเคราะห์ ก่อนการทดลองอยู่ในระดับน้อย มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ
4.00 แต่หลังการทดลองอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.20 แสดงว่าในการจัดกิจกรรม
วิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาการคิดวิจารณญาณด้านการวิเคราะห์ได้ ลักษณะของกิจกรรมจะส่งเสริมให้
เด็กจำแนกความเหมือน ความแตกต่างของวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในกิจกรรม ฝึกการเปรียบเทียบ
ลักษณะ รูปร่าง คุณสมบัติของวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ เช่น การสังเกตความแตกต่างของดินเหนียวกับ
ดินทรายว่ามีลักษณะที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร การเปรียบเทียบลักษณะของดินเหนียวกับ
ดินทรายระหว่างที่เทน้ำลงไปในดินว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร การสังเกตความแตกต่าง
ลักษณะของพืชที่มีแป้งและไม่มีแป้งเป็นส่วนประกอบ การสังเกตความแตกต่างของสี และกลีบของ
ดอกไม้แต่ละชนิด การสังเกตลักษณะของวัตถุที่ลอยน้ำและวัตถุที่จมน้ำว่าเหมือนหรือแตกต่างกัน
อย่างไร สังเกตวัสดุที่นำมาใช้ในการทำเครื่องกรองน้ำว่ามีลักษณะอย่างไร สังเกตความแตกต่าง
ของน้ำอัดลมและน้ำเปล่าว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กได้
ลงมือปฏิบัติ หยิบ จับ สัมผัส วัสดุอุปกรณ์ ต่างๆ ด้วยตนเอง รู้จักการจำแนกแยกแยะ เปรียบเทียบ
ลักษณะของวัสดุอุปกรณ์ จึงส่งผลให้เด็กเกิดการคิดวิเคราะห์ในขณะที่เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม
ประกอบกับการใช้คำถามของครูเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิด ซึ่งสอดคล้องกับบลูม (Bloom. 1956;
Citing Huitt. 2004) ที่กล่าวว่า การวิเคราะห์เป็นความสามารถที่เด็กจะต้องจำแนกความแตกต่าง
แบ่งประเภท ความสัมพันธ์ คาดคะเน ตั้งสมมุติฐาน การจัดระบบหลักเกณฑ์ โครงสร้างของคำถาม
หรือการบรรยาย ความสามารถในการระบุและเลือกที่เกี่ยวข้องได้ โดยเด็กจะหาคำตอบจากการ
ตรวจสอบข้อมูลด้วยการพิสูจน์ การแยกแยะ และสอดคล้องกับศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ และอุษา ชูชาติ
(2545: 92 – 98) ที่กล่าวว่า การวิเคราะห์เป็นความสามารถที่จะแยกแยะหรือย่อยข้อมูล ออกเป็น
ส่วนที่ทำให้เข้าใจง่ายสามารถดึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลได้โดยเข้าใจหลักการและประโยชน์ที่จะ
นำมาใช้ ดังนั้นในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ซึ่งเด็กได้จำแนกความเหมือน ความแตกต่างของวัสดุ
อุปกรณ์ ที่ใช้ในกิจกรรม ฝึกการเปรียบเทียบลักษณะ รูปร่าง คุณสมบัติของวัสดุ อุปกรณ์ ส่งผลให้
ระดับการคิดวิจารณญาณด้านการวิเคราะห์สูงขึ้น
2.2 ด้านการใช้เหตุผล ก่อนการทดลองอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ
6.27 แต่หลังการทดลองอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.20 แสดงว่าในการจัด
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาการคิดวิจารณญาณด้านการใช้เหตุผลได้ ลักษณะของกิจกรรมเป็น
กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ได้สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงใน
ระหว่างทำกิจกรรม โดยครูใช้คำถามในระหว่างการทดลอง เพื่อให้เด็กได้คิดหาเหตุผลที่ได้จากการ
สังเกตการเปลี่ยนแปลงผลการทดลอง และเชื่อมโยงความคิดนั้นให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่น
เด็กสังเกตการเปลี่ยนสีของดอกไม้ที่แช่ไว้ในน้ำสีต่างๆ จากสีขาวเป็นสีแดง เหลือง เขียว ชมพู ตาม
น้ำสีที่แช่ไว้ เพราะว่าดอกไม้จะดูดน้ำเพื่อเป็นอาหารและเมื่อดูดน้ำสีเข้าไปกลีบดอกก็จะเปลี่ยนไป
ตามน้ำสีนั้น เด็กสังเกตการจมของไขในน้ำเปล่าแต่หลังจากที่เติมเกลือลงไปในน้ำไข่ก็จะลอยขึ้นมา
เพราะถ้าน้ำมีความเค็มขึ้นก็สามารถทำให้ไข่ลอยขึ้นมาบนผิวน้ำได้ เด็กสังเกตวัตถุที่มีน้ำหนักเบา
จะสามารถลอยน้ำได้ เช่น โฟม ใบไม้ ฝาขวดน้ำ ส่วนวัตถุที่มีน้ำหนักมากจะจมน้ำ เช่น ก้อนหิน แม่
กุญแจ เป็นต้น เด็กสังเกตว่าลูกเกดจะเคลื่อนที่ไปมาได้ในน้ำสไปร์ท เพราะว่าน้ำสไปร์ทมีความซ่า
จึงทำให้ลูกเกดเคลื่อนที่ไปมาได้ ส่วนน้ำเปล่าไม่ซ่าลูกเกดจึงเคลื่อนที่ไปมาไม่ได้ เด็กสังเกตว่า
น้ำตาลทรายซึ่งมีขนาดเล็กและเบาเมื่อตีกลองใกล้ๆ จะทำให้น้ำตาลทรายเคลื่อนที่ไปมา เพราะเสียง
จะทำให้เกิดการสั่นสะเทือน วัตถุที่มีขนาดเล็กจึงเคลื่อนที่ไปมาได้ ซึ่งในการจัดกิจกรรม
วิทยาศาสตร์ทำให้เด็กได้คิดหาเหตุผลโดยอาศัยประสบการณ์เดิมของเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับเพียเจต์
(สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. 2545: 36-37) ที่กล่าวว่า เด็กพยายามปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมโดย
ซึมซาบประสบการณ์ (Assimilation) และปรับโครงสร้างสติปัญญา (Accommodation) ตามสภาพ
เพื่อให้เกิดความสมดุลในโครงสร้างความคิดความเข้าใจ และสอดคล้องกับ สุทธาภา โชติประดิษฐ์
(2551: 124) ที่ศึกษาและพัฒนาการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้โดยใช้วิธีการสื่อความหมายเป็นฐาน ผลการวิจัยพบว่า การใช้เหตุผลคือการคิดอย่างรอบคอบ
เป็นการคิดย้อนกลับ จนกระทั่งได้รับคำตอบที่มีความเป็นไปได้และสอดคล้องกับหลักการตามวัย
ความสามารถของเด็กปฐมวัยในด้านนี้เป็นการประมวลความคิดระหว่างความคิดตามประสบการณ์
เดิมกับประสบการณ์ใหม่และใช้เหตุผลมาเป็นตัวเชื่อมการคิดอย่างรอบคอบ คิดย้อนกลับโดยผู้ใหญ่
ใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดกระบวนการคิดและตรวจสอบความคิดตามเหตุผลของตนทีละ
ขั้นตอนจนได้คำตอบที่พอใจและมีความเป็นไปได้มากที่สุด ดังนั้นในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
เป็นกิจกรรมที่เด็กได้การบอกเหตุผลที่ได้จากการทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างสมเหตุสมผลที่
สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ส่งผลให้ระดับการคิดวิจารณญาณด้านการใช้เหตุผลสูงขึ้น
2.3 ด้านการสังเคราะห์ ก่อนการทดลองอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย
เท่ากับ 5.80 แต่หลังการทดลองอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.00 แสดงว่าในการจัด
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาการคิดวิจารณญาณด้านการสังเคราะห์ได้ ลักษณะของกิจกรรม
เด็กจะรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกตวัสดุอุปกรณ์ การเปลี่ยนแปลงระหว่างปฏิบัติกิจกรรม และ
ผลที่ได้จากการทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เช่น เด็กสังเกตลักษณะของน้ำก่อนที่จะกรองและน้ำ
หลังกรองว่ามีสีที่แตกต่างกัน โดยหลังจากผ่านเครื่องกรองน้ำแล้วน้ำจะมีสีที่ใสขึ้นกว่าเดิม เนื่องจาก
น้ำได้ผ่านก้อนหิน กรวด ถ่าน ทราย สำลี ซึ่งวัสดุเหล่านี้จะกรองสิ่งสกปรกออกไปได้ เด็กจะสังเกต
การลอยของไข่ไก่เมื่อเติมเกลือลงไปในน้ำ ไข่จะเริ่มลอยขึ้นจากก้นขวดและต้องใส่เกลือในปริมาณที่
มากพอ ไข่จึงจะลอยขึ้นมาที่ผิวน้ำได้ เด็กสังเกตสีของสารละลายไอโอดีนเมื่อหยดลงไปในพืชที่มี
แป้งเป็นส่วนประกอบเช่น มันฝรั่ง เผือก มันแกว มะม่วงมัน สีของสารละลายไอโอดีนจะเปลี่ยนสี
ไปจากเดิม แต่ถ้าหยดลงในพืชที่ไม่มีแป้งเป็นส่วนประกอบ เช่น แตงกวา ฝรั่ง ชมพู่ สีของ
สารละลายไอโอดีนจะไม่เปลี่ยนสี ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กได้ร่วมกันวางแผนการทดลอง
ได้การรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกตวัสดุอุปกรณ์ สังเกตการเปลี่ยนแปลงระหว่างปฏิบัติ
กิจกรรม และสังเกตผลที่ได้จากการทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดทักษะการสังเคราะห์ ซึ่ง
สอดคล้องกับบลูม (ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์; และอุษา ชูชาติ. 2545: 92 – 98) ที่ว่าการสังเคราะห์เป็น
การนำความรู้ที่มีหลายๆ ทางมาประกอบกันเพื่อสร้างแผนงานใหม่ขึ้นมา หรือเพื่อแก้ปัญหาหรือ
ตอบปัญหาใดๆ และสอดล้องกับเพียเจต์ (ปกรณ์ ไพรอังกูร. 2547: 12 อ้างอิงจาก Piaget.1963.)
ที่กล่าวว่าการที่เด็กได้เลือก เปลี่ยนและใช้ข้อมูล และใช้หลักการในการแก้ปัญหาที่สมบูรณ์ หรือการ
ทำงานที่ต้องการชี้แนะน้อยที่สุด ได้สร้างสรรค์สิ่งของจากการช่วยกันคิด วางแผนและสร้างงาน ซึ่ง
เป็นกระบวนการเรียนรู้ผ่านการคิดร่วมกันของเด็ก โดยการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมและ
ประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับเข้าด้วยกันและปรับให้เข้ากันเพื่อสร้างเป็นความรู้ใหม่ด้วยตัวเอง ดังนั้นใน
การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จึงส่งผลให้ระดับการคิดวิจารณญาณด้านการสังเคราะห์สูงขึ้น
2.4 ด้านการประเมินค่า ก่อนการทดลองอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย
เท่ากับ 5.73 แต่หลังการทดลองอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.33 แสดงว่าในการจัด
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาการคิดวิจารณญาณด้านการประเมินค่าได้ ลักษณะของกิจกรรม
เป็นกิจกรรมที่เด็กได้คิดและตัดสินใจโดยเด็กจะสังเกตผลการทดลอง แล้วสรุปผลการทดลองที่ได้
ตามความเข้าใจของตนเอง ครูจะทำหน้าที่ช่วยเพิ่มเติมข้อคิดเห็นของเด็ก และครูกับเด็กร่วมกัน
ตัดสินใจสรุปผลการทดลองร่วมกัน เช่น เด็กสรุปผลการทดลองว่าความซ่าของน้ำสไปร์ทจะมี
ลักษณะเป็นฟองไปเกาะลูกเกดทำให้ลูกเกดเคลื่อนที่ไปมา ซึ่งน้ำอัดลมชนิดอื่น เช่น โค้ก แฟนต้า
เป็บซี่ มิรินด้า ก็น่าจะทำให้ลูกเกดเคลื่อนที่ไปมาได้ เด็กสรุปผลการทดลองว่าถ้านำสารละลาย
ไอโอดีนหยดลงในมันฝรั่ง เผือกแล้วสารละลายไอโอดีนเปลี่ยนสี แสดงว่า มันฝรั่ง และเผือกมีแป้ง
เป็นส่วนประกอบ ดังนั้นถ้าเรานำสารละลายไอโอดีนหยดลงในแป้ง ขนม เส้นก๋วยเตี๋ยว สารละลาย
ไอโอดีนน่าเปลี่ยนสีด้วย เด็กสรุปผลการทดลองว่าถ้าเติมเกลือลงไปในน้ำไข่ไก่จะลอยขึ้นมาได้ แล้ว
ถ้านำไข่ไก่ลงไปในน้ำทะเลไข่ไก่ก็น่าจะลอยได้” เพราะกิจกรรมวิทยาศาสตร์จะส่งเสริมให้เด็ก ได้คิด ได้ลองทำอย่างมีเหตุผล
             จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาการคิด
วิจารณญาณได้ โดยเด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง ลักษณะของกิจกรรมเด็กจะได้
สังเกตวัสดุอุปกรณ์ วางแผนการทดลอง สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง และสรุปผลการทดลองตาม
ความเข้าใจของตนเอง ทำให้เกิดการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การใช้เหตุผล และการประเมินค่า
ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการคิดวิจารณญาณ ครูมีบทบาทในการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิด
ขณะที่ทำกิจกรรม ดังนั้นเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จึงมีพัฒนาการคิด
วิจารณญาณสูงขึ้น
ข้อ


30 September 2556

Science Experiences Management for Early Childhood


EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 



อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอการทดลองหยก ทดลอง  น้ำพุในขวดบุ๋ม   ทดลอง  มะนาวตกน้ำจู      ทดลอง  ทีเด็ดน้ำยาล้างจานตาล ทดลอง  น้ำอัดลมฟองฟูบี      ทดลอง  พริกไทยไต่น้ำเอีย   ทดลอง  ลาวาแลมป์อัน    ทดลอง  ไข่ลอยไม่จมเฟิน   ทดลอง  ผ้าเปลี่ยนสีข้อเสนอแนะอาจารย์การใช้คำถามกับเด็ก  อย่างเช่น
       
1.เด็กๆ เห็นอะไรอยู่บนโต๊ะบ้างค่ะ
2.เด็กๆ คิดว่าอุปกรณ์บนโต๊ะทำอะไรได้บ้างค่ะ
3.เด็กๆ ตอบได้ไหมค่ะ ว่าเพราะอะไร
4.เด่วเรามาทำการทดลองพร้อมกันนะคะ
5.เด็กๆ เห็นว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้างค่ะ

ดิฉันได้นำเสนอการทดลองไปแล้วในคาบเรียนชดเชย

  


วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Monday 23 September 2013



23 September 2556

Science Experiences Management for Early Childhood


EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 


      กลุ่มของดิฉันได้จัดเตรียม อุปกรณ์ ในการทำกิจกรรม cooking ข้าวผัดอะไรเอ่ย
โดยอาจารย์ ได้ให้ข้อแนะนำต่างๆในขั้นตอนการสอนเด็ก 
    ก่อนทำกิจกรรม cooking กลุ่มของดิฉันได้นำเสนอแผนอิกครั้งและเริ่มนำเด็กเข้าสู่บทเรียน





เมื่อนำเด็กเข้าสู่บทเรียน ก็ได้แนะนำอุปกรณ์ต่างๆให้เด็กได้รู้จักและสังเกต วัตถุดิบต่างๆก่อนทำอาหา




จากนั้นก็ได้สอนเด็กๆทำข้าวผัดอะไรเอ่ย? พร้อมๆกัน


เมื่อทำข้าวผัดเสร็จ ก็มีการสรุปขั้นตอนต่างๆ และให้เด็กๆสังเกตการเปลี่ยนแปลงของวัตถุดิบต่างๆ พร้อมตั้งชื่อ ข้าวผัดด้วยกัน
และได้ให้เด็กๆได้ลองทานข้าวผัดฝีมือของตนเอง





Monday 16 September 2013



16 September 2556


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102  

                 อาจารย์จ๋าได้พูดเรื่องการจัดงานนิทรรศการของเล่นวิทยาศาสตร์กับนักศึกษา และอาจารย์จ๋าได้มอบการสอน  2 คาบ ให้นักศึกษาได้เรียนกับ อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน ( อ. เบียร์ )


              อาจารย์เบียร์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น  5   กลุ่ม  เพื่อที่จะเขียนแผนวิทยาศาสตร์ โดยคิดทำเมนู Cooking

กลุ่มที่  1  เมนูวุ้นมะพร้าวอร่อยเหาะ


กลุ่มที่  2  เมนูแซนวิชของหนู



กลุ่มที่  3 เมนู  Super  แกงจืด


กลุ่มที่  4  เมนูไข่ตุ๋นทรงเครื่อง

กลุ่มที่  5  เมนูข้าวผัด อะไรเอ่ย?  (  กลุ่มดิฉัน )




                อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอแผนจัดกิจกรรมของตัวเองจนครบทุกกลุ่ม และได้มีการโหวตเมนูที่ชอบเพื่อทำกิจกรรม cooking กันในอาทิตย์หน้า
     ผลที่ได้คือ อาหารที่เพื่อนๆชอบคือ ข้าวผัดอะไรเอ่ย? 
ซึ่งเป็นกลุ่มของดิฉัน อาจารย์ให้กลุ่มของดิฉันทำหน้าที่เป็นคุณครูในการสอนทำ cooking เมนูข้าวผัด ในสัปดาห์ ต่อไป

Monday 9 September 2013



9 September 2556

Science Experiences Management for Early Childhood


EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102



ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ไปดูงานต่างจังหวัด

Monday 2 September 2013



2 September 2556

Science Experiences Management for Early Childhood


EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 




ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม

Monday 26 August 2013



26 August 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 


                   ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีงานเกษียณอาจารย์ในคณะศึกษาศาสตร์                          มหาวิทยาราชภัฏจันทรเกษม  อาจารย์จึงให้นักศึกษาเข้าร่วมงาน








Monday 19 August 2013



19 August 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 


อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอการทดลองโดนสาธิตรูปแบบการสอนด้วยตนเอง  มีดังนี้

  1. ปัทมา          การทดลองกระดาษกับไม้บล็อก
  2. แอม            การทดลองช็อคสลายตัว
  3. ปรางวลี       การทดลองลูกโป่งในขวด
  4. ภัสราภรณ์   การทดลองตะเกียบหรรษา
  5. จงกลณี       การทดลองอากาศต้องการที่อยู่
  6. อ๊อฟ            การทดลองกระป๋องบุบ

อาจารย์ได้ให้คำเสนอเพิ่มเติมโดยดิฉันสรุปเป็น Mimdmap ดังนี้

Monday 17 August 2013


17 August 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 


เนื่องจากวันที่  12  สิงหาคม 2556  เป็นวันหยุดทางราชการ อาจารย์จึงนัดสอนเพิ่มเติม

อาจารย์ได้เช็คชื่อนักศึกษาพร้อมสอบถามว่าใครทำของเล่นเข้ามุมแล้วบ้าง  อาจารย์จึงให้นักศึกษาจับคู่ 2 - 3 คน ประดิษฐ์ของเล่นเข้ามุม  โดยอาจารย์ได้นำกล่องที่มีหลายขนาดมาแจกให้นักศึกษาเลือกกลุ่มละ 1 กล่อง



อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอการทดลองต่อ

-  อริตา       การทดลองดวงดาว
-  อีฟ          การทดลองน้ำมาจากไหน
-  หยง        การทดลองชั่งน้ำหนักบนดวงจันทร์
-  กุ้ง          การทดลองน้ไม่ล้น
-  ภณิดา    การทดลองเส้นด้ายยกน้ำแข็ง
-  อุมาลิน  การทดลองลูกโป่งลากกระป๋อง

ดิฉันได้สรุปกระบวนการนำเสนอจากอาจารย์เป็น Mindmap  ดังนี้


Monday 12 August 2013



12 August 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102


งดการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ


      

Monday 5 August 2013



5 August 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 


งดการเรียนการสอน เพราะอยู่ในช่วงสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

Monday 29 July 2013




29 July 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ให้หยุดไปเตรียมอ่านหนังสือสอบ                                                

หมายเหตุ การทดลองและของเล่นเข้ามุม นำเสนอครั้งต่อไป

Monday 28 July 2013




28 July 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 



             อาจารย์นัดสอนเพิ่มเติม อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนออกมานำเสนอวิธีทำของเล่นของเเต่ละคน มีดังนี้

เตย ทำเฮรีคอปเตอร์กระดาษ                        เฟิร์น ทำไก่กระตาก

ฝน ทำกังหันลมจิ๋ว                                       แอม ทำโบว์ลิ่ง

อีฟ ทำใบพัดสามแฉก                                   ตาล ทำลูกข่างกระดาษ

หลัน ทำลูกข่างจากแผ่น CD                         ริตา ทำเรือพลังยาง

ปูนิ่ม ทำคอปเตอร์จากไม้ไอติม                      ฝน ทำรถไถจากหลอดด้าย

             อาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะในการนำเสนอของเพื่อนแต่ละคนเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขใช้กับเด็กต่อไปข้างหน้า
       

การทดลองของเล่นของดิฉันคือ จานหมุนมีชีวิต

แต่ต้องกลับไปแก้ไขใหม่เนื่องจาก เป็นของเล่นที่ใช้เพื่อเข้ามุม เด็กไม่สามารถประดิษฐ์ได้ ด้วยตนเอง
  

Monday 22 July 2013




22 July 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 



หยุดอาสาฬหบูชา

Monday 15 July 2013





15 July 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 

อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอ สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้  ดังนี้


หยก  :  นำเสนอเรื่อง เลี้ยงลูกบอลด้วยลม

ออย  :  นำเสนอเรื่อง กังหันลม

เฟิร์น :  นำเสนอเรื่อง ไก่กระต๊าก

อ๊อฟ  :  นำเสนอเรื่อง เครื่องบินแรงดันอากาศ 

แอม  :   นำเสนอเรื่อง ไปเป้เป่าลม

หยง  :   นำเสนอเรื่อง ตุ๊กตาไข่ล้มลุก

จู      :   นำเสนอเรื่อง ปืนขวดน้ำ

ริตา  :   นำเสนอเรื่อง  เรือพลังยาง

ดิฉัน  :   นำเสนอเรื่อง  หนูวิ่ง

ปรางค์ :  นำเสนอเรื่อง  กล้องผสมสี

ไอซ์    :   นำเสนอเรื่อง ขวดผิวปาก
             อาจารย์ให้นักศึกษาที่ออกไปนำเสนอสิ่งประดิษฐ์หน้าชั้นเรียน เอาสิ่งที่นำเสนอไปลงในบล็อกของตนเอง โดยให้บอกวิธีการทำต่างๆอย่างละเอียดพร้อมรูปภาพประกอบ และคาบหน้าให้นักศึกษาประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ของตนเองมา 1 ชิ้น และเตรียมอุปกรณ์มา 1 ชุด เพื่อที่จะนำมาสาธิตวิธีการทำแก่เพื่อนที่จับคู่กัน

Monday 8 July 2013





8 July 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 
อาจารย์ได้แจกกระดาษแล้วให้พับเป็น 8 ส่วน จำนวน 2 แผ่น  
  •  ให้วาดภาพเป็นเรื่องราวจำนวนหลายๆแผ่น แล้วเปิดภาพเร็วๆ จะเห็นภาพนั้นเกิดเป็นเรื่องราว 
  • ให้ดึงกระดาษมา 2 แผ่น อีกด้านวาดดอกไม้ อีกด้านวาดผีเสื้อ เอาสก็อตเทปมาติดกระดาษเชื่อมกัน แล้วใส่ดินสอไปในรู แล้วหมุนด้วยความเร็ว จะเห็นภาพต่อเนื่องกัน

หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ อาจารย์ให้ดู VDO เรื่อง น้ำมหัศจรรย์  




Monday 1 July 2013




1 July 2013


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 Time from 14.10 to 17.30pm Group Study 102 

            อาจารย์ให้นักศึกษาร่วมกันสรุปเนื้อหาจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยสรุปเป็น Mind mapping พร้อมกัน ให้นักศึกษาร่วมพูดคุยแสดงข้อคิดเห็นตามหัวข้อ ดังนี้

1. ความหมายทางวิทยาศาสตร์
2. ความสำคัญทางวิทยาศาสตร์
3. ทฤษฎีทางสติปัญญา
4. การเรียนรู้
5. แนวคิดทางวิทยาศาสตร์
6. กระบวนการทาง วิทยาศาสตร์
7. วิธีการทางสมมติฐาน


สรุปเป็น mind mapping ดังนี้




หลังจากสรูปเสร็จ อาจารย์ให้ดู VDO เรื่องความลับของแสง  มีเนื้อหา ดังนี้