สรุปวิจัย
สรุป วิจัย
เรื่องการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ของ
เสกสรร มาตวังแสง
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
ตุลาคม 2552
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในภาพรวม และจำแนกรายด้าน คือ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล
การสังเคราะห์ การประเมินค่า และเพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและ
หลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้าประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ เด็กปฐมวัย ชาย –
หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
ของโรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี สังกัดสำนัก
การศึกษาเทศบาลเมืองชลบุรี จำนวน 50 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มด้วยการจับสลาก
1 ห้องเรียนจาก 2 ห้องเรียน และสุ่มโดยการจับสลากนักเรียนจำนวน 15 คน เพื่อใช้เป็น
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรจัดกระทำ ได้แก่
การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ และตัวแปรตาม ได้แก่ การคิดวิจารณญาณ
การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ และแบบทดสอบ
การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ซึ่ง
ทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กปฐมวัย โดยผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่าง
1 สัปดาห์ก่อนการทดลอง จากนั้นทำการทดสอบเพื่อวัดการคิดวิจารณญาณก่อนการทดลอง
(Pre-test) โดยใช้แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กับกลุ่มตัวอย่าง
และดำเนินการทดลองด้วยตนเอง จำนวน 8 สัปดาห์ เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์
นำแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้ง และนำข้อมูลที่ได้จาก
การทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ
เด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มีการคิดวิจารณญาณ ดังนี้
1. ระดับการคิดวิจารณญาณ ของเด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์์ในภาพรวมมีการคิดวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 30.73
และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการใช้เหตุผลอยู่ในระดับมากที่สุดมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ
8.20 ส่วนด้านการวิเคราะห์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.20 การสังเคราะห์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ
8.00 และการประเมินค่ามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.33 ซึ่งอยู่ในระดับมาก
2. การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยในภาพรวม หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรม
วิทยาศาสตร์์ พบว่าเด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณสูงขึ้น มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.93
คะแนน สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อ
พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยมีการ
วิเคราะห์สูงขึ้น มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.20 การใช้เหตุผลสูงขึ้นมีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ย
เท่ากับ 1.93 การสังเคราะห์สูงขึ้นมีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.20 และการประเมินค่าสูงขึ้น
มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.60 ทุกด้านสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
การคิดวิจารณญาณ และสอดคล้องกับจารุวรรณ คงทวี (2551: 57-58) ที่ศึกษาการคิดวิจารณญาณ
ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมละเลงสีด้วยนิ้วมือ ผลวิจัยพบว่า กิจกรรมที่สามารถ
พัฒนาการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยควรเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำโดย
ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า เป็นกิจกรรมที่ฝึกให้เด็กคิดค้นหรือหาวิธีการแปลกๆ ใหม่ๆ ที่ค้นพบขึ้น
ด้วยตนเองมาทดลองใช้ในกิจกรรม เป็นกิจกรรมที่เด็กได้มีโอกาสสังเกต สำ รวจ จำ แนก
เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ ของวัสดุอุปกรณ์ ค้นคว้าทดลองในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ดังนั้นการจัด
กิจกรรมวิทยาศาสตร์จึงเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
เพราะเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้สังเกตเปรียบเทียบความแตกต่างของวัสดุอุปกรณ์
เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติกิจกรรม และสรุปผลการทดลองได้ตามความเข้าใจของ
ตนเอง จึงส่งผลให้เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ มีการคิดวิจารณญาณในภาพรวม
และรายด้านสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
2. ระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยแยกเป็นรายด้านพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้
รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองโดยมีระดับการคิด
วิจารณญาณสูงขึ้นทุกด้าน คือ
2.1 ด้านการวิเคราะห์ ก่อนการทดลองอยู่ในระดับน้อย มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ
4.00 แต่หลังการทดลองอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.20 แสดงว่าในการจัดกิจกรรม
วิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาการคิดวิจารณญาณด้านการวิเคราะห์ได้ ลักษณะของกิจกรรมจะส่งเสริมให้
เด็กจำแนกความเหมือน ความแตกต่างของวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในกิจกรรม ฝึกการเปรียบเทียบ
ลักษณะ รูปร่าง คุณสมบัติของวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ เช่น การสังเกตความแตกต่างของดินเหนียวกับ
ดินทรายว่ามีลักษณะที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร การเปรียบเทียบลักษณะของดินเหนียวกับ
ดินทรายระหว่างที่เทน้ำลงไปในดินว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร การสังเกตความแตกต่าง
ลักษณะของพืชที่มีแป้งและไม่มีแป้งเป็นส่วนประกอบ การสังเกตความแตกต่างของสี และกลีบของ
ดอกไม้แต่ละชนิด การสังเกตลักษณะของวัตถุที่ลอยน้ำและวัตถุที่จมน้ำว่าเหมือนหรือแตกต่างกัน
อย่างไร สังเกตวัสดุที่นำมาใช้ในการทำเครื่องกรองน้ำว่ามีลักษณะอย่างไร สังเกตความแตกต่าง
ของน้ำอัดลมและน้ำเปล่าว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กได้
ลงมือปฏิบัติ หยิบ จับ สัมผัส วัสดุอุปกรณ์ ต่างๆ ด้วยตนเอง รู้จักการจำแนกแยกแยะ เปรียบเทียบ
ลักษณะของวัสดุอุปกรณ์ จึงส่งผลให้เด็กเกิดการคิดวิเคราะห์ในขณะที่เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม
ประกอบกับการใช้คำถามของครูเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิด ซึ่งสอดคล้องกับบลูม (Bloom. 1956;
Citing Huitt. 2004) ที่กล่าวว่า การวิเคราะห์เป็นความสามารถที่เด็กจะต้องจำแนกความแตกต่าง
แบ่งประเภท ความสัมพันธ์ คาดคะเน ตั้งสมมุติฐาน การจัดระบบหลักเกณฑ์ โครงสร้างของคำถาม
หรือการบรรยาย ความสามารถในการระบุและเลือกที่เกี่ยวข้องได้ โดยเด็กจะหาคำตอบจากการ
ตรวจสอบข้อมูลด้วยการพิสูจน์ การแยกแยะ และสอดคล้องกับศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ และอุษา ชูชาติ
(2545: 92 – 98) ที่กล่าวว่า การวิเคราะห์เป็นความสามารถที่จะแยกแยะหรือย่อยข้อมูล ออกเป็น
ส่วนที่ทำให้เข้าใจง่ายสามารถดึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลได้โดยเข้าใจหลักการและประโยชน์ที่จะ
นำมาใช้ ดังนั้นในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ซึ่งเด็กได้จำแนกความเหมือน ความแตกต่างของวัสดุ
อุปกรณ์ ที่ใช้ในกิจกรรม ฝึกการเปรียบเทียบลักษณะ รูปร่าง คุณสมบัติของวัสดุ อุปกรณ์ ส่งผลให้
ระดับการคิดวิจารณญาณด้านการวิเคราะห์สูงขึ้น
2.2 ด้านการใช้เหตุผล ก่อนการทดลองอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ
6.27 แต่หลังการทดลองอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.20 แสดงว่าในการจัด
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาการคิดวิจารณญาณด้านการใช้เหตุผลได้ ลักษณะของกิจกรรมเป็น
กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ได้สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงใน
ระหว่างทำกิจกรรม โดยครูใช้คำถามในระหว่างการทดลอง เพื่อให้เด็กได้คิดหาเหตุผลที่ได้จากการ
สังเกตการเปลี่ยนแปลงผลการทดลอง และเชื่อมโยงความคิดนั้นให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่น
เด็กสังเกตการเปลี่ยนสีของดอกไม้ที่แช่ไว้ในน้ำสีต่างๆ จากสีขาวเป็นสีแดง เหลือง เขียว ชมพู ตาม
น้ำสีที่แช่ไว้ เพราะว่าดอกไม้จะดูดน้ำเพื่อเป็นอาหารและเมื่อดูดน้ำสีเข้าไปกลีบดอกก็จะเปลี่ยนไป
ตามน้ำสีนั้น เด็กสังเกตการจมของไขในน้ำเปล่าแต่หลังจากที่เติมเกลือลงไปในน้ำไข่ก็จะลอยขึ้นมา
เพราะถ้าน้ำมีความเค็มขึ้นก็สามารถทำให้ไข่ลอยขึ้นมาบนผิวน้ำได้ เด็กสังเกตวัตถุที่มีน้ำหนักเบา
จะสามารถลอยน้ำได้ เช่น โฟม ใบไม้ ฝาขวดน้ำ ส่วนวัตถุที่มีน้ำหนักมากจะจมน้ำ เช่น ก้อนหิน แม่
กุญแจ เป็นต้น เด็กสังเกตว่าลูกเกดจะเคลื่อนที่ไปมาได้ในน้ำสไปร์ท เพราะว่าน้ำสไปร์ทมีความซ่า
จึงทำให้ลูกเกดเคลื่อนที่ไปมาได้ ส่วนน้ำเปล่าไม่ซ่าลูกเกดจึงเคลื่อนที่ไปมาไม่ได้ เด็กสังเกตว่า
น้ำตาลทรายซึ่งมีขนาดเล็กและเบาเมื่อตีกลองใกล้ๆ จะทำให้น้ำตาลทรายเคลื่อนที่ไปมา เพราะเสียง
จะทำให้เกิดการสั่นสะเทือน วัตถุที่มีขนาดเล็กจึงเคลื่อนที่ไปมาได้ ซึ่งในการจัดกิจกรรม
วิทยาศาสตร์ทำให้เด็กได้คิดหาเหตุผลโดยอาศัยประสบการณ์เดิมของเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับเพียเจต์
(สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. 2545: 36-37) ที่กล่าวว่า เด็กพยายามปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมโดย
ซึมซาบประสบการณ์ (Assimilation) และปรับโครงสร้างสติปัญญา (Accommodation) ตามสภาพ
เพื่อให้เกิดความสมดุลในโครงสร้างความคิดความเข้าใจ และสอดคล้องกับ สุทธาภา โชติประดิษฐ์
(2551: 124) ที่ศึกษาและพัฒนาการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้โดยใช้วิธีการสื่อความหมายเป็นฐาน ผลการวิจัยพบว่า การใช้เหตุผลคือการคิดอย่างรอบคอบ
เป็นการคิดย้อนกลับ จนกระทั่งได้รับคำตอบที่มีความเป็นไปได้และสอดคล้องกับหลักการตามวัย
ความสามารถของเด็กปฐมวัยในด้านนี้เป็นการประมวลความคิดระหว่างความคิดตามประสบการณ์
เดิมกับประสบการณ์ใหม่และใช้เหตุผลมาเป็นตัวเชื่อมการคิดอย่างรอบคอบ คิดย้อนกลับโดยผู้ใหญ่
ใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดกระบวนการคิดและตรวจสอบความคิดตามเหตุผลของตนทีละ
ขั้นตอนจนได้คำตอบที่พอใจและมีความเป็นไปได้มากที่สุด ดังนั้นในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
เป็นกิจกรรมที่เด็กได้การบอกเหตุผลที่ได้จากการทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างสมเหตุสมผลที่
สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ส่งผลให้ระดับการคิดวิจารณญาณด้านการใช้เหตุผลสูงขึ้น
2.3 ด้านการสังเคราะห์ ก่อนการทดลองอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย
เท่ากับ 5.80 แต่หลังการทดลองอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.00 แสดงว่าในการจัด
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาการคิดวิจารณญาณด้านการสังเคราะห์ได้ ลักษณะของกิจกรรม
เด็กจะรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกตวัสดุอุปกรณ์ การเปลี่ยนแปลงระหว่างปฏิบัติกิจกรรม และ
ผลที่ได้จากการทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เช่น เด็กสังเกตลักษณะของน้ำก่อนที่จะกรองและน้ำ
หลังกรองว่ามีสีที่แตกต่างกัน โดยหลังจากผ่านเครื่องกรองน้ำแล้วน้ำจะมีสีที่ใสขึ้นกว่าเดิม เนื่องจาก
น้ำได้ผ่านก้อนหิน กรวด ถ่าน ทราย สำลี ซึ่งวัสดุเหล่านี้จะกรองสิ่งสกปรกออกไปได้ เด็กจะสังเกต
การลอยของไข่ไก่เมื่อเติมเกลือลงไปในน้ำ ไข่จะเริ่มลอยขึ้นจากก้นขวดและต้องใส่เกลือในปริมาณที่
มากพอ ไข่จึงจะลอยขึ้นมาที่ผิวน้ำได้ เด็กสังเกตสีของสารละลายไอโอดีนเมื่อหยดลงไปในพืชที่มี
แป้งเป็นส่วนประกอบเช่น มันฝรั่ง เผือก มันแกว มะม่วงมัน สีของสารละลายไอโอดีนจะเปลี่ยนสี
ไปจากเดิม แต่ถ้าหยดลงในพืชที่ไม่มีแป้งเป็นส่วนประกอบ เช่น แตงกวา ฝรั่ง ชมพู่ สีของ
สารละลายไอโอดีนจะไม่เปลี่ยนสี ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กได้ร่วมกันวางแผนการทดลอง
ได้การรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกตวัสดุอุปกรณ์ สังเกตการเปลี่ยนแปลงระหว่างปฏิบัติ
กิจกรรม และสังเกตผลที่ได้จากการทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดทักษะการสังเคราะห์ ซึ่ง
สอดคล้องกับบลูม (ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์; และอุษา ชูชาติ. 2545: 92 – 98) ที่ว่าการสังเคราะห์เป็น
การนำความรู้ที่มีหลายๆ ทางมาประกอบกันเพื่อสร้างแผนงานใหม่ขึ้นมา หรือเพื่อแก้ปัญหาหรือ
ตอบปัญหาใดๆ และสอดล้องกับเพียเจต์ (ปกรณ์ ไพรอังกูร. 2547: 12 อ้างอิงจาก Piaget.1963.)
ที่กล่าวว่าการที่เด็กได้เลือก เปลี่ยนและใช้ข้อมูล และใช้หลักการในการแก้ปัญหาที่สมบูรณ์ หรือการ
ทำงานที่ต้องการชี้แนะน้อยที่สุด ได้สร้างสรรค์สิ่งของจากการช่วยกันคิด วางแผนและสร้างงาน ซึ่ง
เป็นกระบวนการเรียนรู้ผ่านการคิดร่วมกันของเด็ก โดยการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมและ
ประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับเข้าด้วยกันและปรับให้เข้ากันเพื่อสร้างเป็นความรู้ใหม่ด้วยตัวเอง ดังนั้นใน
การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จึงส่งผลให้ระดับการคิดวิจารณญาณด้านการสังเคราะห์สูงขึ้น
2.4 ด้านการประเมินค่า ก่อนการทดลองอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย
เท่ากับ 5.73 แต่หลังการทดลองอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.33 แสดงว่าในการจัด
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาการคิดวิจารณญาณด้านการประเมินค่าได้ ลักษณะของกิจกรรม
เป็นกิจกรรมที่เด็กได้คิดและตัดสินใจโดยเด็กจะสังเกตผลการทดลอง แล้วสรุปผลการทดลองที่ได้
ตามความเข้าใจของตนเอง ครูจะทำหน้าที่ช่วยเพิ่มเติมข้อคิดเห็นของเด็ก และครูกับเด็กร่วมกัน
ตัดสินใจสรุปผลการทดลองร่วมกัน เช่น เด็กสรุปผลการทดลองว่าความซ่าของน้ำสไปร์ทจะมี
ลักษณะเป็นฟองไปเกาะลูกเกดทำให้ลูกเกดเคลื่อนที่ไปมา ซึ่งน้ำอัดลมชนิดอื่น เช่น โค้ก แฟนต้า
เป็บซี่ มิรินด้า ก็น่าจะทำให้ลูกเกดเคลื่อนที่ไปมาได้ เด็กสรุปผลการทดลองว่าถ้านำสารละลาย
ไอโอดีนหยดลงในมันฝรั่ง เผือกแล้วสารละลายไอโอดีนเปลี่ยนสี แสดงว่า มันฝรั่ง และเผือกมีแป้ง
เป็นส่วนประกอบ ดังนั้นถ้าเรานำสารละลายไอโอดีนหยดลงในแป้ง ขนม เส้นก๋วยเตี๋ยว สารละลาย
ไอโอดีนน่าเปลี่ยนสีด้วย เด็กสรุปผลการทดลองว่าถ้าเติมเกลือลงไปในน้ำไข่ไก่จะลอยขึ้นมาได้ แล้ว
ถ้านำไข่ไก่ลงไปในน้ำทะเลไข่ไก่ก็น่าจะลอยได้” เพราะกิจกรรมวิทยาศาสตร์จะส่งเสริมให้เด็ก ได้คิด ได้ลองทำอย่างมีเหตุผล
จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาการคิด
วิจารณญาณได้ โดยเด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง ลักษณะของกิจกรรมเด็กจะได้
สังเกตวัสดุอุปกรณ์ วางแผนการทดลอง สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง และสรุปผลการทดลองตาม
ความเข้าใจของตนเอง ทำให้เกิดการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การใช้เหตุผล และการประเมินค่า
ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการคิดวิจารณญาณ ครูมีบทบาทในการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิด
ขณะที่ทำกิจกรรม ดังนั้นเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จึงมีพัฒนาการคิด
วิจารณญาณสูงขึ้น
ข้อ